ตรวจสอบมาตรฐานเว็บไซต์
หากพูดถึงวิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย ด้วยความรวดเร็ว เป็นอัตราเร่ง โดยในการเปลี่ยนแปลงนี้ ก่อให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้คนทั้งในด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่อาศัยอยู่ในยุคที่สิ่งต่างๆรอบตัว ขับเคลื่อนด้วย ICT ต้องเรียนรู้ กับเทคโนโลยีที่มีเข้ามา โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มากับอินเตอร์เน็ต ได้แก่ เว็บไซต์ หรือ World Wide Web ที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมาสนับสนุนมากมาย โดยที่หลายคนกลับไม่ได้ให้ความสนใจหรือใส่ใจในปรัชญาของการพัฒนาเว็บไซต์ ที่ได้วางรากฐานเอาไว้ อย่างเข้าใจอย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทำให้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ นั้น กลับกลายเป็นการสร้างอุปสรรค์ต่อการเข้าถึงสารสนเทศ ของคนหลาย ๆ กลุ่ม
ในปัจจุบัน มาตราฐานต่าง ๆ เริ่มเกิดขึ้นตามมา หลังจากมีการใช้เทคโนโลยี ที่เดินหน้าไป โดยขาดการมองให้รอบด้าน ซึ่งรวมถึงมาตราฐานที่เป็นพื้นฐานในการทำให้เว็บไซต์ สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในด้านการเข้าถึงสารสนเทศ
 

ทางองค์กร W3C (World Wide Web Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเว็บ ได้กำหนดวิธีการและแนวทางในการเข้าถึงที่ชื่อว่า WAI (Web Accessibility Initiative) ประกอบด้วย

  1. แนวทางการพัฒนาโปรแกรมในการสร้างโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ต่าง ๆ (Authoring Tool Accessibility Guidelines)
  2. แนวการพัฒนาโปรแกรมฝั่ง User Agent
    (User Agent Accessibility Guidelines)
  3. แนวทางในการพัฒนาเนื้อหาเว็บไซต์เพื่อให้เป็นมาตราฐาน WCAG (Web Content Accessibility Guidelines)

ซึ่ง 2 แนวทางแรกเป็นการกำหนดให้กับผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนางานให้ได้มาตราฐาน ส่วนที่จะเกี่ยวข้องกับผู้คนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของ แนวทางในการพัฒนาเนื้อหาเว็บไซต์เพื่อให้เป็นมาตราฐาน ที่ชื่อว่า WCAG โดยเวอร์ชันล่าสุดคือ WCAG 2.0 ซึ่งช่วยให้เรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำหรือมีอะไรไม่ควรทำในเว็บไซต์

 

หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าการพัฒนาเว็บไซต์ของท่าน อาจจะทำให้เป็นลมบ้าหมู หรือชักได้เลย หากประกอบด้วย เนื้อหาที่เป็นรูปภาพที่สีตัดกันอย่างรุนแรงและมีการกระพริบที่ถี่เกิน 3 ครั้ง/วินาที หรือเนื้อหาบางประเภท อาจจะทำให้ผู้ใช้บางกลุ่มไม่สามารถใช้งาน เช่น การแจ้งเตือนข้อผิดพลาดโดยใช้สีอย่างเดียว ข้อความที่มีสีตัวอักษร ไม่แตกต่างกับพื้นหลังเพียงพอ การไม่ได้ใส่ข้อความทดแทนให้กับรูปภาพ การไม่ได้ออกแบบเว็บไซต์ที่เหมาะสมในการเข้าถึงสารสนเทศ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ทั้งในแง่ความหมายและลำดับความสำคัญที่อาจจะผิดเพี้ยนไป ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กรนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความใส่ใจต่อสังคม ต่อความเท่าเทียมกันในด้านสารสนเทศ ที่เป็นความหมายของการไม่ได้สร้างอุปสรรค์ ไม่ได้ก่อมลพิษในโลก Cyberspace

 

หมายเหตุ: องค์กร W3C ได้ออกโลโก้ที่สามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาได้มาตราฐาน ซึ่งการตรวจสอบด้วยคอมพิวเตอร์นั้นถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการตรวจสอบเว็บไซต์ โดยในการตรวจสอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น จำเป็นต้องตรวจสอบในระดับ User แต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมถึงการตรวจสอบด้วยโปรแกรมช่วยเหลือสำหรับ User แต่ละประเภท เช่น โปรแกรม Screen Reader เพื่อยืนยันว่าเนื้อหาต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เป็นสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้ครบถ้วน ได้มาตราฐาน


Date: 
Saturday, 16 November 2013