Web Accessibility ก็คือการทำเว็บให้คนทุกกลุ่ม เข้าถึงได้ คือ เข้าใช้งานได้ โดยไม่มีอุปสรรค เป็นศาสตร์การออกแบบที่เป็นสากล หรือที่เรียกว่า Universal Design บางคนอาจจะเรียกเป็นไทยว่า อารยะสถาปัตย์ ขั้นตอนการทำเว็บไซต์ ก็จะต้องมีการออกแบบและวางแผน ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน โดยมีขั้นตอนที่จะสรุปดังนี้
-
เลือกใช้เทคนิค และ เทคโนโลยีที่เหมาะสม
บางเทคโนโลยีไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงสารสนเทศ เช่น Flash อาจจะใช้ไม่ได้กับอุปกรณ์บางประเภท การกำหนดให้ PopUp หน้าต่างใหม่ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเข้าถึง เป็นต้น
-
อำนวยความสะดวกให้กับการเข้าถึง เพิ่มมากยิ่งขึ้น
โดยจะมีเทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวกให้การเข้าถึง ทำได้ดียิ่งขึ้น ได้แก่Closed Caption ARIA ย่อ / ขยาย ตัวอักษร ปรับสีให้เหมาะกับคนสายตาเลือนราง
-
ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ
การตรวจสอบการเข้าถึงด้วยเครื่องมือการเข้าถึง เช่น http://www.thaiwebaccessibility.com/validator ซึ่งสามารถตรวจสอบเรื่องการเข้าถึง และเรื่องของ Color Contrast เป็นต้น
-
ตรวจสอบด้วยผู้ใช้จริง
นอกจากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ (Validation Tools) แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบด้วยบุคคลด้านอื่นๆ ด้วยเพื่อทดสอบการเข้าถึง ได้แก่ ผู้พิการทางสายตา ผู้สายตาเลือนราง ผู้สูงอายุ เป็นต้น เพราะการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ จะช่วยในการตรวจสอบได้สัก 30-50 % ของการตรวจสอบทั้งหมด
-
ติดตามเทคโนโลยี เป็นประจำ
โดยเรื่องของ Web Accessibility นั้น จะมีองค์กรที่เป็นผู้ออกมาตรฐาน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.w3c.org/wai เป็นต้น