Web Accessibility ก็คือการทำเว็บให้คนทุกกลุ่ม เข้าถึงได้ คือ เข้าใช้งานได้ โดยไม่มีอุปสรรค เป็นศาสตร์การออกแบบที่เป็นสากล หรือที่เรียกว่า Universal Design บางคนอาจจะเรียกเป็นไทยว่า อารยะสถาปัตย์ ขั้นตอนการทำเว็บไซต์ ก็จะต้องมีการออกแบบและวางแผน ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน โดยมีขั้นตอนที่จะสรุปดังนี้
ขั้นตอนการพัฒนา Web Acessibility
-
วางแผนก่อนทำเว็บไซต์
วางโครงสร้างของเว็บไซต์ sitemap ของเว็บไซต์ ไล่ลำดับความสำคัญ และการกำหนด Header (
H1, H2,.., H6
) -
รูปภาพให้มีคำอธิบายรูปภาพ
ต้องคำนึงว่าทุกๆ รูปภาพ คนตาบอด เข้าไม่ถึง จำเป็นจะต้องใส่คำอธิบาย เช่น <img src="thaiwebaccessibility-logo.png" alt="โลโก้ของ Thaiwebaccessibility" />
-
บางเทคนิคไม่เหมาะกับเว็บในยุคปัจจุบัน
หลีกเลี่ยงการใช้ Tag บางอย่างที่ไม่ได้สื่อความหมาย เช่น <b> <i> <u> <marquee> เป็นต้น และเว็บที่เป็น XHTML หรือ eXtensible HyperText Markup Language นั้น จะต้อง ปิด Tag ให้เรียบร้อย ใช้ตัวอักษรตัวเล็กเท่านั้น ทั้ง ชื่อ Tag และ Element
-
ใส่ใจในรายละเอียด
ควรกำหนด Title, Meta Tag ให้สื่อความหมาย ในเว็บไม่ควรใช้ Title เดียวทั้งเว็บไซต์ เพราะคนจะไม่ทราบว่า หน้านี้เกี่ยวกับ อะไร
-
แยกระหว่าง “เนื้อหา” กับ “รูปแบบ”
การทำเว็บไซต์ เพื่อให้เข้ากับหลักการข้อที่ 4 หรือ Robust นั้น จะต้องแยกระหว่าง เนื้อหา (Content) และ รูปแบบ (Format) ออกจากกัน ไม่นำเอารูปแบบไปจัดรวมกับเนื้อหา
-
เลือกใช้เทคนิค และ เทคโนโลยีที่เหมาะสม
บางเทคโนโลยีไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงสารสนเทศ เช่น Flash อาจจะใช้ไม่ได้กับอุปกรณ์บางประเภท การกำหนดให้ PopUp หน้าต่างใหม่ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเข้าถึง เป็นต้น
-
อำนวยความสะดวกให้กับการเข้าถึง เพิ่มมากยิ่งขึ้น
โดยจะมีเทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวกให้การเข้าถึง ทำได้ดียิ่งขึ้น ได้แก่
- Closed Caption
- ARIA
- ย่อ / ขยาย ตัวอักษร
- ปรับสีให้เหมาะกับคนสายตาเลือนราง
-
ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ
การตรวจสอบการเข้าถึงด้วยเครื่องมือการเข้าถึง เช่น http://www.thaiwebaccessibility.com/validator ซึ่งสามารถตรวจสอบเรื่องการเข้าถึง และเรื่องของ Color Contrast เป็นต้น
-
ตรวจสอบด้วยผู้ใช้จริง
นอกจากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ (Validation Tools) แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบด้วยบุคคลด้านอื่น ๆ ด้วยเพื่อทดสอบการเข้าถึง ได้แก่ ผู้พิการทางสายตา ผู้สายตาเลือนราง ผู้สูงอายุ เป็นต้น เพราะการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ จะช่วยในการตรวจสอบได้สัก 30-50 % ของการตรวจสอบทั้งหมด
-
ติดตามเทคโนโลยี เป็นประจำ
โดยเรื่องของ Web Accessibility นั้น จะมีองค์กรที่เป็นผู้ออกมาตรฐาน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.w3c.org/wai เป็นต้น
การดำเนินการตาม 10 ข้อที่ว่า น่าจะช่วยด้านการเข้าถึง (Accessible) ได้พอสมควร และ แต่การดำเนินการ อย่างเป็นระบบ จำเป็นต้องใช้ เวลา ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร และความใส่ใจ ในการดำเนินการ หากต้องการขอคำปรึกษา หรือ ให้เราช่วยตรวจสอบเว็บไซต์ สอบถามได้ที่ [email protected] หรือ โทร. 084-010-5208 ร่วมกันสร้างสังคม Online ให้น่าอยู่ด้วยการสร้างเว็บที่ออกแบบที่เป็นสากล หรือที่เรียกว่า Universal Design หรือว่า อารยะสถาปัตย์ กันนะครับ
หมายเหตุ: องค์กร W3C ได้ออกโลโก้ที่สามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาได้มาตราฐาน ซึ่งการตรวจสอบด้วยคอมพิวเตอร์นั้นถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการตรวจสอบเว็บไซต์ โดยในการตรวจสอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น จำเป็นต้องตรวจสอบในระดับ User แต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมถึงการตรวจสอบด้วยโปรแกรมช่วยเหลือสำหรับ User แต่ละประเภท เช่น โปรแกรม Screen Reader เพื่อยืนยันว่าเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์ เป็นสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้ครบถ้วน ได้มาตราฐาน