หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Subtitle มาก่อน โดยเป็นการแปลงเสียง จากรายการโทรทัศน์ วิดีโอ มาเป็นข้อความทดแทน ใช้บรรยายคำพูดของตัวละคร ออกมาเป็นข้อความแบบตรง ๆ ตัว แต่ Closed Caption เป็นคำบรรยายแทนเสียง ซึ่งก็คือการแสดงข้อความเพื่อให้ข้อมูลที่เกิดขึ้น อธิบายสิ่งที่เป็นบทสนทนาของตัวละครเหมือน Subtitle รวมถึงสิ่งที่ไม่ใช่คำพูดแต่มีความสำคัญต่อเนื้อหา เช่น เสียงดนตรี เสียงปืน เสียงหัวเราะ เสียงปรบมือ ซึ่งคำบรรยายแทนเสียงจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ
  • Closed Caption (CC) คือ คำบรรยายแทนเสียงแบบปิด สามารถพบเห็นได้ทั้งในภาพยนตร์ ที่มากับ DVD Blue-ray หรือสื่อ Online อย่าง YouTube, Facebook VDO ที่จะมีสัญลักษณ์ CC ที่แถบควบคุม
  • Open Caption (OC) คือ คำบรรยายแทนเสียงแบบเปิด โดยจะเป็นการนำเอาคำบรรยายไปรวมกับสัญญาณโทรทัศน์ โดยตัวถอดรหัสอาจจะเป็นกล่องโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่สามารถที่จะปิดคำบรรยายดังกล่าวได้
ตัวอย่าง Closed Caption
สัญลักษณ์ Closed Caption บน YouTube

ประโยชน์ของ Closed Caption

  • ช่วยทำให้ผู้ชมเข้าใจสื่อที่รับชมได้มากยิ่งขึ้น
  • เป็นการออกแบบตามหลักการของ Universal Design (UD)
  • ช่วยให้กลุ่มผู้พิการทางการมองเห็นได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร
  • เราไม่จำเป็นจะต้องเปิดเสียงในวิดีโอนั้นเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
  • ในมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ หากมีวีดีโอจะต้องกำหนดให้มีข้อความทดแทน
  • ในมาตรฐาน WCAG นั้น Closed Caption เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องกำหนด

Closed Caption กับเทคโนโลยีปัจจุบัน

ปัจจุบันในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ได้เปิดให้สามารถทำ Closed Caption (CC) ได้ไม่ว่าจะเป็น YouTube, Facebook VDO โดยสามารถกำหนดเป็น Closed Caption แบบหลายภาษา (Multi Language) ซึ่งหากเป็นผู้ชมที่ต้องการดู CC เป็นภาษาไทย หรือ CC เป็นภาษาอังกฤษ ก็สามารถเลือกได้เอง รวมถึงมีความสามารถในการจดจำค่าที่กำหนดนั้นๆ อีกด้วย คือ หากทำการเปิด VDO ที่มี Closed Caption ภาษาดังกล่าว ก็จะถูกแสดงผลอัตโนมัติทันที และยังมีเครื่องมือที่เราสามารถสร้าง แก้ไข Closed Caption แบบ Online อีกด้วย

ตัวอย่างการเลือก Closed Caption ภาษาไทย
ตัวอย่างการเลือก Closed Caption ภาษาอังกฤษ

บทสรุปของ Closed Caption

Closed Caption เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยเป็นทางเลือกในการแสดงข้อความอธิบายคำพูดและเสียงต่างๆ ที่สำคัญเข้ามาแสดงด้วย ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ ภาพยนตร์ต่างชาติมี Closed Caption แต่ภาพยนตร์ไทย ไม่มี ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อบุคคลอย่างผู้พิการทางการได้ยิน ที่จะไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาดังกล่าวได้ ดังนั้นทุกๆ วิดีโอ เราสามารถทำ Closed Caption ได้ด้วยทางเทคนิคที่ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนและใน แพลตฟอร์ม อย่าง YouTube, Facebook, Online Training ในต่างประเทศ ก็ต่างรองรับกับเทคโนโลยีดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่า Closed Caption เป็นสิ่งที่ควรจะต้องมีในทุกๆ วีดิทัศน์ของเมืองไทย เพื่อให้เป็นสังคมที่ไร้อุปสรรค ต่อการเข้าถึงมากยิ่งขึ้น

Reference

  1. Wikipedia (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Closed_captioning)
  2. กสทช. เพื่อผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ (http://bcp.nbtc.go.th/resource/detail/2589)

Date: 
Tuesday, 30 January 2018